วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562

งานที่5 Internet of Things (อ้างอิงhttps://www.aware.co.th/iot-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/)

 Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

สรุป
Internet of Thing เป็นแนวความคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ และลดการสูญเสียเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แต่แนวคิดดังกล่าวหากไม่มีการควบคุมรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ ก็จะกลายเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงความเป็นส่วนตัว และแนวทางการดำเนินของผู้ใช้ระบบได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก

งานที่4 Augmented Reality (อ้างอิง https://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality)

AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง


           พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่มีสมาร์ทโฟนเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิต ทำให้ธุรกิจการค้าต้องปรับกลยุทธ์เชิงรุกในรูปแบบออนไลน์ ตามช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียดึงดูดความน่าสนใจ หลายคนคงจำเกมยอดฮิตอย่างโปเกมอนโก ที่นำเทคโนโลยี AR มาสร้าง จนทำให้คนติดเกมอย่างหนักกันพักใหญ่ทีเดียว เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) ได้ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมประจําวัน มีการนําไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านศิลปะ การแพทย์ การศึกษา และการพาณิชย์
7755 1
ภาพ เทคโนโลยี AR
ที่มา https://pixabay.com/th/
          คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม  ส่วน Reality แปลว่าความจริง   นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยกไม่ออก     
ความเป็นมาของ  AR
        เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่าง ๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว  โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่น ๆ ก็ตาม  แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล  ทั้ง VR และ AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา
Augmented Reality
         AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติมีความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ในโลกสังคมออนไลน์หรือการตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่ง ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ หากเปรียบสื่อต่าง ๆ เสมือน “กล่อง” แล้ว AR คือการเด้งออกมาสู่โลกใหม่ภายนอกกล่องที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง
          เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้ มีหลักการทำงานโดยสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น    2  ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทํางาน (Marker based AR)   และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR) หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย
  1. Marker (หรือที่เรียกว่า Markup)
  2. กล้องวิดีโอ เว็บแคม  กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ
  3. ส่วนการแสดงผลภาพ เช่นจอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล
  4. ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ object 3D
พื้นฐานหลักของ AR  
        ใช้หลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือการเคาะ (Beat    Detection)  การจดจําเสียง   (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect  แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น  ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat    Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น    เสียงในการสั่งให้ตัว  Interactive Media ทํางาน
        ทั้งนี้การสั่งการด้วยเสียงจัดว่าเป็น  AR  และในส่วนของการประมวลผลภาพนั้น เป็นส่วนเสริม เพราะเน้นไปที่การทํางานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI)   ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่านสีและรูปภาพ
        เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง หากในอนาคตเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย หากเรามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้ใช้ แต่มนุษย์ไม่ได้เจริญตามเทคโนโลยีด้วย การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็จะไม่เป็นปกติสุขได้เลย



Virtual reality หรือ VR ก็คือ เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง นั้นเอง โดยพยายามทำให้เหมือนจริงโดยผ่านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระทั้งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
ความแตกต่างของ VR และ AR นั้นก็คือ VR นั้นจะตัดขาดเราออกจากสถาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่สภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แต่ AR จะพยายามรวบรวมหรือผสานระหว่างสภาพแวดล้อมจริงๆ ณ ขณะนั้นเข้ากับวัตถุที่จำลองขึ้นมานั้นเอง
จะเห็นได้ว่าจากความแตกต่างระหว่าง VR และ AR ทำให้การนำไปประยุกต์ใช้งานนั้นแตกต่างกัน โดย VR นั้นจะเน้นที่ตัดขาดออกจากโลกจริงเข้าไปอยู่ในโลกเสมื่อนอย่างเต็มรูปแบบ ส่วน AR นั้นจะเน้นไปที่การผสานรวบรวมระหว่างวัตถุเสมือนรอบตัวเราเข้ากับสภาพแวดล้อมจริงๆ ณ ขณะนั้น นั้นเอง

งานที่3 Quantum Computing (อ้างอิง http://www.dv.co.th/blog-en/quantum-computing/)


Quantum Computing
ทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมืลักทั้งด้านการทำงานและความบันเทิงของหลายๆ คน แต่หากมองดีๆ จะพบว่า มันก็ไม่เพียงพอจะแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบ เช่นการประเมินสภาพอากาศเพื่อเตือนก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติ หรือการจัดการจราจรซึ่งซับซ้อนขึ้นทุกวัน แม้คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นทุกปีแต่ก็ยังตอบสนองไม่เพียงพอต่อการใช้งานของมนุษย์ ความต้องการเทคโนโลยีใหม่เข้ามา Disrupt จึงเกิดขึ้น วันนี้เราก็ขอชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์แห่งอนาคตที่เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษยชาติ โดยถูกพิสูจน์แล้วว่ามันเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นล้านเท่า ที่เรียกว่า “Quantum Computing”
Quantum Computing คืออะไร?
Quantum Computing ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน โดยจากเดิมที่คอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะแทนค่าข้อมูลด้วย Bit อันประกอบด้วยตัวเลข 0 กับ 1 ทีละตัวแล้วนำไปประกอบกัน แต่ระบบ Quantum Computing จะใช้อะตอมที่มีคุณสมบัติของ Quantum Bit หรือ Qubit สามารถประมวลผลเป็นตัวเลข 0 หรือ 1 พร้อมกันได้
คุณสมบัติดังกล่าวทำให้แต่ละ Qubit ทำงานได้เร็วกว่า Bit อย่างมหาศาล นอกจากนี้ Qubit ยังสามารถสื่อสารกับอะตอมที่เป็น Qubit ด้วยกันได้โดยไม่ต้องผ่านสื่อกลาง ทำให้ Qubit สามารถประมวลผลร่วมกันได้ราบรื่นและรวดเร็ว รวมถึงรองรับงานแบบ Multitasking ได้ง่ายกว่า โดยเมื่อปี 2015 มีประกาศจาก Google ว่า Quantum Computer ที่พวกเขาพัฒนาขึ้น มีความเร็วมากกว่า PC ทั่วไปถึง 100 ล้านเท่า!!
แต่อย่างไรก็ตามระบบ Quantum Computing  ก็มีข้อจำกัดอยู่ เช่นตัว Qubit ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมและเปราะบาง หากมีสิ่งรบกวนเพียงเล็กน้อย Qubit ดังกล่าวก็จะหายไปพร้อมข้อมูลภายใน อีกทั้งยังไม่พบวิธีการคัดลอก Qubit เพื่อสำรองข้อมูลโดยสมบูรณ์ ยังไม่นับเรื่องการเก็บรักษา Qubit ให้พร้อมใช้งานซึ่งต้องอยู่ในอุณหภูมิศูนย์สมบูรณ์หรือ -273.15 องศาเซลเซียส
Quantum Computing ทำอะไรได้บ้าง?
จริงๆ แล้วแนวคิดเรื่องการนำ Quantum มาใช้กับคอมพิวเตอร์ มีมาตั้งแต่ยุคปี 1980 แต่เนื่องจากมีความซับซ้อนทางฟิสิกส์ค่อนข้างสูงมาก รวมถึงต้องทำงานวิจัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การวิจัยจึงยังอยู่ในวงจำกัด ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นระบบ Quantum Computing จึงได้รับการสานต่อโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่และประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ จนมีแนวโน้มว่าเราอาจจะได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลโดย Qubit ภายใน 10 ปีที่จะถึงนี้ และด้วยความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมที่เราใช้กันอย่างเทียบไม่ติด มันจึงเข้ามา Disrupt การใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เปลี่ยนไป ลองมาดูตัวอย่างการนำระบบ Quantum Computing ไปใช้ในด้านต่างๆ
  • พลิกรูปแบบ Online Security - ปัจจุบัน ระบบ Online Security จะทำงานด้วยการเข้ารหัสจำนวนมาก แน่นอนว่า Quantum Computing สามารถถอดรหัสทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย แต่หากว่าเรานำ Quantum Computing มาเป็นเครื่องประมวลผลรหัสแทนก็อาจจะได้แม่กุญแจและกุญแจที่แข็งแรงกว่าที่เคย
  • ลับสมองให้ AI - พลังประมวลผลอันรวดเร็วจากระบบ Quantum Computing ที่สามารถเร่งกระบวนการเรียนรู้ของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ได้ ทำให้ AI ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดียิ่งขึ้น
  • ทดลองทางเคมีเพื่อพัฒนายารักษาโรค - การสร้างยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องอาศัยการคำนวณอันละเอียดและแม่นยำ Quantum Computing ไม่เพียงแต่ทำได้รวดเร็ว แต่ยังสามารถคำนวณค่าต่างๆ พร้อมกัน อีกทั้งในอนาคตการออกแบบยารักษาโรคจะลงลึกไปถึงในระดับวิเคราะห์ DNA เพื่อผลิตยาที่เหมาะกับแต่ละคน ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Qubit สามารถตอบโจทย์ทั้งด้านความแม่นยำและเวลาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยได้ทันท่วงที
  • พัฒนาการพยากรณ์อากาศให้แม่นยำยิ่งขึ้น - ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินมากมาย แต่ด้วยเครื่องมือปัจจุบัน การพยากรณ์อากาศแทบจะเป็นเกมเดาสุ่ม แม้เราจะมีความรู้แต่การคำนวณของเรากลับไม่รวดเร็วพอที่จะป้องกันเหตุได้ เราจึงจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพของ Quantum Computing เพื่อปรับปรุงการคาดการณ์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน หน่วยงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้นำเทคโนโลยี Quantum Computing มาใช้เพื่อจำลองแนวโน้มสภาพอากาศในปัจจุบัน ทำให้เรามีข้อมูลมากพอจะคาดเดาอากาศได้แม่นยำขึ้น
  • ช่วยจัดการคมนาคมให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ - ไม่ว่าจะบนฟ้า บนพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ ความเร็วของ ระบบ Quantum Computing สามารถนำมาใช้ประเมินเส้นทางให้เราเดินทางได้ประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้ทางบนวิถีการจราจรอันซับซ้อนขึ้นทุกวัน

งานที่2 Blockchain technology. (อ้างอิง https://medium.com/kiptopotamus/blockchain-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-60c69f6abf78)




Blockchain คือโครงสร้างข้อมูล (Data structure)

ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลในชีวิตประจำวันเช่น
  • สมุดพก คือโครงสร้างข้อมูลที่ไว้เก็บผลการเรียน
  • สมุดบัญชีก็คือโครงสร้างข้อมูลเอาไว้เก็บข้อมูลฝาก-ถอนในบัญชีธนาคารของเรา
  • สมุดสะสมแต้ม เอาไว้เก็บแสตมป์ที่ได้จากเซเว่น
ตัวอย่างข้างต้นเป็นตัวอย่างที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบง่ายๆ ที่เราอาจจะทำเลียนแบบได้ในโปรแกรม excel ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้างข้อมูลแบบตาราง
สำหรับตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลแบบ Blockchain เราอาจจะนึกแบบเรียน หรือหนังสืออะไรก็ได้ที่มีเลขหน้า ใช่ครับ หนังสือนี่แหละคือตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลแบบ Blockchain แต่ละหน้าก็มีข้อมูลของตัวเองเป็น Block ส่วนเลขหน้าทำให้เรารู้ว่าหน้าก่อนหน้าคือหน้าอะไร หน้าถัดไปคือหน้าอะไร เชื่อมต่อกันเป็นสาย (chain)
แถมสำหรับโปรแกรมเมอร์ ลองดูตัวอย่างข้อมูลด้านล่างนี้ ส่วนที่อยู่ใน result ก็คือตัว data ที่เราสนใจ สำหรับส่วนหัวก็คือ link ที่จะเชื่อมไปหา block ก่อนหน้าและ block ถัดไป
{
 "count": 12,
 "next": https://example.com/abc/?pages=3,
 "previous": https://example.com/abc/?pages=1,
 "results": [
    ... data ...
 ]
}



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

งานที่1 Artificial Intelligence. (อ้างอิง https://contentshifu.com/artificial-intelligence-ai-marketers/)

Artificial Intelligence หรือ (AI) 

Artificial Intelligence (AI) หรือในภาษาไทยเราก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจสูงมากจากผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Facebook, Amazon หรือ Apple ต่างก็ให้ความสนใจนำปัญญาประดิษฐ์นี้มาใช้ในกลยุทธ์การขายและการตลาดกันอย่างดุเดือด
AI เป็นสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยต่างโหมกระหน่ำพยายามทำให้มัน Intelligent (ฉลาด) มากขึ้นๆ จนถึงขนาดมีการนำไปทำภาพยนตร์ว่า AI จะครองโลก และมนุษย์จะไม่สามารถควบคุมมันได้ เพราะเราทำให้มันซุปเปอร์ฉลาดยิ่งกว่าความสามารถของมนุษย์น่ะซิ
ระยะหลังนี้เราจะได้ยินเรื่องราวของ AI กันจนก้นร้อน ต้องรีบตามเทรนด์ให้ทันว่ามันเกี่ยวอะไรกับฉันหว่า ถึงคุณจะไม่อยากเกี่ยวกับมัน แต่มันมาเกี่ยวกับคุณแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้านการผลิต ด้านการแพทย์ และอีกหลายๆ ด้าน แม้กระทั่งด้านการตลาด การขาย และการบริการลูกค้า
จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นๆ การวิจัยและพัฒนา AI จะใช้ในด้านคณิตศาสตร์, เกมส์, วิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ เป็นหลัก แต่ก็มีการทำวิจัยมาเรื่อยๆ ในความพยายามให้มันฉลาดมากขึ้น, ประมวลผลได้แม่นยำขึ้นและมีความสามารถเท่าเทียมมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 4 แนวคิด
1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
2. ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)
3. ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
4. ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (System that act rationally)
อ้างอิง